บทที่ 3

เพิ่มสี

         การเพิ่มรายการสี สามารถทำได้โดยคลิกที่เครื่องมือเลือกสี (จะเป็นFill หรือ Stroke) ก็ได้
แล้วคลิกที่ปุ่ม Color Picker ซึ่งปรากฏที่มุมบนขวาของจอภาพแสดงค่าสี
___1 คลิกที่ปุ่ม Color Picker
2 ปรากฏจอภาพผสมสีใหม่
3 คลิกในช่อง Custom colors
4 ผสมสีตามต้องการ
5 คลิกปุ่ม Add to Custom Colors
         การเลือกสีให้กับกราฟิกต่างๆ ที่วาดด้วยเครื่องมือของ Flash นอกจากจะใช้ส่วนควบคุมสีที่
กล่าวไปแล้ว ก็จะมีรายการเลือกสีใน Properties Panel ของเครื่องมือนั้นๆ
คลิกเพื่อดูภาพขยาย 

แผงควบคุมสี (Color Panel)

         Color Panel เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานเกี่ยวกับสี โดยเฉพาะในส่วนที่เป็น
การไล่โทนสี (Gradient) เนื่องจากการสร้างชุดสีการไล่โทน ไม่สามารถทำได้จากส่วนควบคุมสี
ปกติ Flash เตรียม Panel เกี่ยวกับสีไว้ 2 ชุดคือ
         • Swatches ซึ่งมีการทำงาน/ใช้งานลักษณะเดียวกับ Toolbox
           
         • Color มีส่วนเพิ่มเติมการใช้สีมากกว่าปกติ เช่น การทำสีแบบไล่โทนลักษณะต่างๆ,
           การใช้ภาพกราฟิกมาเป็นพื้นของกราฟิก (Texture) รวมทั้งการปรับค่าความโปร่งใส
           ของสี (Alpha)
           
         การเลือกรายการจาก Color มีรายการที่น่าสนใจ คือ Fill Type ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถ
เลือกรูปแบบของสีได้หลากหลายลักษณะ เช่น สีพื้น (Solid Color), สีไล่โทนแบบเส้นตรง (Linear
Gradient), สีไล่โทนแบบรัศมี (Radial Gradient) และการนำภาพจากภายนอกมาเป็นพื้นของวัตถุ
(Bitmap Background) 

ชุดสีแบบไล่โทน

• คลิกเลือกรายการ Fill Type เป็น Linear (ไล่โทนในแนวระนาบ) หรือ Radial (ไล่โทน ในแนวรัศมี)
           Linear

           Radial
• นำเมาส์ไปคลิกใต้ Gradient definition bar จะปรากฏ Gradient Pointer กำหนด จำนวน Gradient Pointer  ตามต้องการ
  
• ถ้าต้องการลบ Gradient Pointer ให้นำเมาส์ไปชี้ ณ Gradient Pointer ที่ต้องการลบ แล้ว
  ลากออกจาก Gradient definition bar
• กำหนดสีให้กับ Gradient Pointer โดยคลิกที่ Gradient Pointer ชิ้นที่ต้องการ จากนั้น
  คลิกเลือกสีจาก Current Color ทำซ้ำกับ Gradient Pointer ตำแหน่งอื่น
• สามารถเลื่อนปรับตำแหน่งของ Gradient Pointer โดยใช้หลัก Drag & Drop
• คลิกปุ่ม Color Mixer Option Menu แล้วเลือกคำสั่ง Add Swatch เพื่อเพิ่มสีที่กำหนด
  ให้กับโปรแกรม
  
ความโปร่งใสของสีวัตถุ (Alpha)
         รูปวงกลมไม่ได้กำหนดค่าความโปร่งใส ก็จะซ้อนทับสี่เหลี่ยมแบบไม่เห็นภาพด้านหลัง
แต่ถ้ากำหนดวงกลมให้มีค่าโปร่งใส ก็จะทำให้สีของวงกลมมีลักษณะจาง และมองทะลุไปเห็นรูป
ด้านหลังได้ 


เครื่องมือวาดภาพ

สี่เหลี่ยม, วงกลม, วงรี
• คลิกเลือกเครื่องมือ Rectangle  สามารถคลิกค้างไว้เพื่อเลือกรูปแบบการวาด
  
• กำหนดสีพื้น, สีเส้นขอบ และลักษณะของเส้นขอบจาก Properties
คลิกเพื่อดูภาพขยาย
  - กำหนดลักษณะของเส้นขอบวงรี วงกลมได้โดยคลิกปุ่ม Custom... แล้ว
    ปรับแต่งลักษณะของเส้นขอบได้จาก Stroke Style Dialog Box ดังภาพ
    
• นำเมาส์มาคลิก ณ ตำแหน่งที่ต้องการวาดรูป กดปุ่มเมาส์ค้างไว้ แล้วลากเมาส์ เมื่อได้
  ขนาดและรูปทรงที่ต้องการ จึงปล่อยนิ้วจากเมาส์
• ถ้าต้องการรูปที่สมบูรณ์ ควรกดปุ่ม <Shift> ค้างไว้ ขณะลากเมาส์
ลบวัตถุด้วย Eraser Tool
วัตถุต่างๆ ที่วาดไว้แล้ว สามารถลบได้ 3 วิธี คือ
• ลบวัตถุทั้งหมดโดยดับเบิลคลิกที่ Eraser Tool 
• ลบเฉพาะ Fill หรือ Stroke ของวัตถุ โดย
  - คลิกเลือก Eraser Tool
  - คลิกที่ปุ่ม Faucet
  - นำเมาส์ไปคลิก ณ ตำแหน่งที่ต้องการ
    * ถ้าคลิก ณ ตำแหน่ง Stroke โปรแกรมจะลบเส้นขอบของวัตถุออกทั้งหมด
    * ถ้าคลิกในพื้นวัตถุ โปรแกรมก็จะลบพื้นวัตถุออกอย่างรวดเร็ว
      
• ลบวัตถุชิ้นที่ต้องการ โดย
  -คลิกเลือก Eraser Tool
  - เลือกโหมดการลบโดยคลิกที่ 
    * Erase Normal                  ลบในสภาวะปกติ คือ ลบทั้ง Stroke และ Fill
    * Erase Fills                       ลบเฉพาะส่วนที่เป็น Fill
    * Erase Lines                     ลบเฉพาะเส้นขอบ Stroke
    * Erase Selected Fills          ลบเฉพาะส่วนที่เลือกไว้
    * Erase Inside                    ลบเฉพาะส่วนที่เป็น Fill แต่ถ้ามีการลากผ่าน
                                            ตำแหน่งที่เป็น Fill ว่างๆ จะไม่ลบให้
- เลือกลักษณะหรือขนาดของ Eraser โดยคลิกที่ 
- นำเมาส์มาคลิก หรือลากผ่าน ณ ตำแหน่งที่ต้องการลบ
Erase NormalFillStrokeSelectionInside


การเลือกวัตถุ (Selection)

         วัตถุในความหมายนี้ ก็คือ รูปทรง รูปภาพ ภาพกราฟิกที่วาด หรือนำเข้ามาใช้งานใน Flash
นั่นเอง การเลือกวัตถุ เป็นขั้นตอนสำคัญในการปรับเปลี่ยน แก้ไข แปลงวัตถุ โดยโปรแกรมเตรียม
เครื่องมือเลือกวัตถุดังนี้
          Selection Tool                      สำหรับเลือกวัตถุในสภาวะปกติ
                                                           
          Subselection Tool                 สำหรับการเลือกวัตถุในโหมดจุดเชื่อม
                                                           
          Lasso Tool              สำหรับการเลือกวัตถุที่มีรูปทรงอิสระ หรือกำหนดขอบเขตการ
เลือกอิสระรวมทั้งการเลือกโดยใช้ค่าสีที่มีค่าเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
                                                          
         สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกวัตถุใน Flash ก็คือ อย่าลืมว่าวัตถุทุกชิ้นเกิดจาก “จุด” หลายๆ จุด
มาประกอบรวมกัน และแต่ละวัตถุจะประกอบด้วยโครงสร้างอย่างน้อย 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็น “Fill”
และส่วนที่เป็น “Stroke” ดังนี้
     Stroke                 Fill                               Shape
รูปด้านบนนี้ แสดง “จุด” อันเกิดจากการเลือกบางส่วนของวงกลม 


การเลือกวัตถุ หรือกลุ่มวัตถุด้วย Selection Tool

• คลิกเลือกเครื่องมือ Selection Tool 
• เลือกวัตถุ โดยยึดหลักดังนี้
  - เลือกเส้นขอบของวัตถุ
    นำเมาส์ไปชี้ที่เส้นขอบวัตถุ แล้วคลิกหรือ ดับเบิลคลิก
  - เลือกพื้นวัตถุ นำเมาส์ไปชี้ที่พื้นวัตถุ แล้วคลิกหรือ ดับเบิลคลิก
                  
 เลือกเส้นขอบ                      เลือกพื้นวัตถุ
  - เลือกวัตถุทั้งชิ้น
    นำเมาส์ไปชี้ที่วัตถุ แล้วดับเบิลคลิก
  - เลือกวัตถุทั้งชิ้น
    นำเมาส์ไปชี้ ณ ตำแหน่งมุมของวัตถุ แล้วลากกรอบสี่เหลี่ยมคลุมวัตถุ
  - เลือกวัตถุหลายๆ ชิ้น
    นำเมาส์ไปชี้ ณ ตำแหน่งมุมของวัตถุ แล้วลากกรอบสี่เหลี่ยมคลุมวัตถุ
    
       การเลือกวัตถุโดยการลากคลุมพื้นที่
  - เลือกวัตถุหลายๆ ชิ้น
    คลิกวัตถุชิ้นที่ 1 กดปุ่ม Shift ค้างไว้ แล้วคลิกวัตถุชิ้นถัดไปเรื่อยๆ
  - เลือกวัตถุทุกชิ้นบน Workspace และ Stage
    กดปุ่ม Ctrl + A
ยกเลิกการเลือกวัตถุ
         นำเมาส์ไปคลิกบนตำแหน่งว่างๆ ของ Stage หรือ เลือกเมนูคำสั่ง Edit, Deselect All
ซ่อนการเลือกวัตถุ
         บางครั้งผู้ใช้อาจจะต้องการซ่อนการเลือก (Selection) ไว้ชั่วคราว เพื่อทำงานหรือ
ตรวจสอบผลให้ถูกต้องก่อนการใช้งานจริง ซึ่งกระทำได้โดยเลือกเมนูคำสั่ง View, Hide Edges
หรือกดปุ่ม Ctrl + H
การยกเลิกคำสั่ง (Undo)
         เมื่อสั่งงานใดๆ ผิดพลาด สามารถย้อนกลับ หรือยกเลิกคำสั่งนั้นๆ ได้โดยคลิกปุ่มCtrl + Z
หรือ Edit, Undo… ซึ่งสามารถยกเลิกคำสั่งย้อนหลังได้มากกว่า 1 ครั้ง
ปรับแต่ง แก้ไขวัตถุ
         จุดเด่นของการสร้างวัตถุด้วย Flash ก็คือวัตถุ หรือกราฟิกที่สร้างไว้แล้ว สามารถปรับแต่ง
แก้ไข ปรับเปลี่ยนรูปทรง ขนาด และลักษณะได้ง่าย รวดเร็ว


เปลี่ยนรูปทรง

         กราฟิกจาก Flash เกิดจากการรวมกันของ “จุด” ทำให้การปรับแต่ง เปลี่ยนรูปทรงกระทำ
ได้ง่าย และสะดวก เพียงแต่ใช้หลักการ Drag & Drop ก็ทำให้รูปทรงพื้นฐาน เช่น วงกลม, วงรี,
สี่เหลี่ยม เป็นสภาพเป็นรูปทรงอิสระอื่นๆ ได้ตามต้องการ เช่น
การเปลี่ยนรูปทรงของวัตถุ มีหลักการดังนี้
• วาดรูปทรงพื้นฐานที่ต้องการ จากตัวอย่างคือรูปสี่เหลี่ยม
• เลือกเครื่องมือ Selection 
• นำเมาส์ไปชี้บริเวณเส้นขอบของรูป สังเกตเมาส์จะมีรูปร่างเป็น  กดปุ่มเมาส์ค้างไว้
  เมื่อลากเมาส์รูปทรงจะถูกยึดหรือขยาย หรือหดตัวตามทิศทางการลากเมาส์
• นำเมาส์ไปชี้บริเวณมุมเหลี่ยมของรูป สังเกตเมาส์จะมีรูปร่างเป็น  กดปุ่มเมาส์ค้าง
  ไว้ เมื่อลากเมาส์รูปทรงจะถูกยึดหรือขยาย หรือบิดตัวตามทิศทางการลากเมาส์
ตัวอย่างการวาดจรวดแบบง่าย
                                
1. วาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า                                               2. เลือกเครื่องมือ Move เลื่อนไปชี้ที่มุมบนขวา
                                                                                 ของสี่เหลี่ยม ดึงเข้ามาตำแหน่งกึ่งกลางของ
                                                                                 ด้านขวา ถ้าดึงแล้วสัดส่วนบิดเบี้ยวให้คลิก 
                                                                                 เพื่อตรึงตำแหน่งการบิดภาพ จากนั้น ทำซ้ำกับ
                                                                                 มุมล่างขวา
                                
3. เลื่อนไปชี้ที่ขอบซ้าย แล้วดึงเข้า
   มาด้านใน ให้ได้เป็นรูปจรวดดัง
   ตัวอย่าง
การย้ายวัตถุ
• คลิกเลือกเครื่องมือ Selection Tool
• เลือกวัตถุ แล้วลากเมาส์เพื่อย้ายวัตถุไปยังตำแหน่งใหม่
• เลื่อนวัตถุเป็นแนวเฉียง 45 องศา ให้กด Shift ด้วย
• เลื่อนวัตถุเป็นระยะทางสั้นๆ ครั้งละ 1 pixel ให้ใช้ปุ่มลูกศร
• เลื่อนวัตถุเป็นระยะทางสั้นๆ ครั้งละ 10 pixel ให้ใช้ปุ่มลูกศร พร้อมกับการกด Shift
• เลื่อนวัตถุไปยังตำแหน่งต่างๆ โดยระบุพิกัด ให้ระบุพิกัด x, y จาก Shape Properties
  ตำแหน่งมุมบนซ้ายของ Stage จะมีพิกัดเป็น 0, 0 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น